วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ข้อปฏิบัติ 5 ประการเพื่อสุขภาพจิตที่ดี

ข้อปฏิบัติ 5 ประการเพื่อสุขภาพจิตที่ดี
ที่ผ่านมา เฮลท์ตี้ทอล์คเน้นถึงสุขภาพกายกันไปพอสมควรแล้ว ในฉบับนี้จะมาแนะนำสมาชิกLAทุกท่านถึงสุขภาพใจกันบ้าง เพราะการจะมีสุขภาพที่ดี ต้องมีสุขภาพจิตที่ดีด้วยเช่นกัน คนที่มีสุขภาพจิตดีคือ คนที่มีลักษณะกิริยาสง่างาม ร่าเริง บ่งบอก ลักษณะภายในว่ามีความสุข มีความเชื่อมั่นในตนเอง น่าเข้าใกล้ น่าเคารพ หากเข้าใกล้ก็จะรู้สึก ถึงกระแสแห่งความ เบิกบาน ใจฉบับนี้จึงจะขอคัดย่อคำสอนจาก พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก แห่งวัดสุนันทวนาราม กาญจนบุรี ถึงข้อปฏิบัติในการ ที่จะ มีสุขภาพจิตที่ดี ดังนี้

1. เจริญอานาปานสติอย่างน้อย 20 นาที
ปกติเราต้องชำระร่างกายด้วยการอาบน้ำวันละ 1-2ครั้ง ถ้าไม่ได้อาบน้ำรู้สึกไม่สบายตัว จิตใจก็เหมือนกัน วันหนี่งกระทบ อารมณ์ที่ไม่พอใจ หดหู่ กลัว เศร้าหมอง ไม่สบายใจ ดังนั้นต้องชำระใจด้วย อานาปานสติ เมตตาภาวนา วันละ1-3ครั้ง ครั้งละประมาณ 20 นาทีให้เป็นกิจวัตรประจำวันไม่ให้ขาด ตั้งใจกำหนดอานาปานสติ หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ ให้มีสติและสัมปชัญญะกับลมหายใจ ปล่อยวางอดีต ไม่ต้องคิดถึงเรื่องเก่าๆที่ผ่านมา ไม่ต้องคิดถึงอนาคตที่ยังมาไม่ถึง แม้แต่ตัวเรา ปล่อยวางความรู้สึก ความนึกคิดต่างๆ จิตของเรามีพลัง คิดอย่างไรก็อย่างนั้น ตั้งใจอย่างไรก็เป็นอย่างนั้น
2. มีสัมมาวาจา
เมื่อเราสำรวจชีวิตของเราตั้งแต่วัยเด็กจนถึงทุกวันนี้จะเห็นว่า "คำพูด"ของเราหลายๆครั้งที่สร้างปัญหา ทำให้แตกแยก ทำลายมิตรภาพ บางครั้งแม้เจตนาดี แต่คำพูดที่ดีของเราให้ผลออกมาเป็นร้ายก็มี ไม่เจตนาแต่เผลอพูด ไปเพียงไม่กี่คำทำให้ เขาเจ็บใจ ก็มี คำพูดจึงมีอิทธิพลต่อชีวิตของเราอย่างมาก เพราะฉะนั้นเราควรสำรวมระวัง ในคำพูดของตัวเองให้เป็น สัมมาวาจา คือเว้นจากการพูดไม่จริง เว้นจากการพูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ พยายามพูดไม่ให้เกิดโทษ ไม่เบียดเบียน ตนเองและผู้อื่นในแต่ละวันให้ทบทวนดูการกระท ำและคำพูดของเราที่ผ่านมา หากผิดพลาดก็ควรแก้ไข พูดดี พูดไพเราะ เป็นปิยวาจา ตั้งใจพูดสัมมาวาจาทุกเช้า ตั้งใจคอยติดตามสำรวจคำพูดของตัวเอง

3. พยายามแก้ไขตนเอง
เมื่อเราสังเกตดูจิตใจ ความคิดของตนเองแล้วจะเห็นว่าจิตใจของเราคิดแต่เรื่องของคนอื่นเป็นส่วนใหญ่ ว่าเขาดี เขาไม่ดี น่ารัก น่าชัง ฯลฯ คิดเรื่องคนอื่นมากกว่า 90% คิดเรื่องของตนน้อยกว่า 10% อยากจะให้คนอื่นละความชั่วที่ไม่ถูกใจเรา อยากจะให้คนอื่นทำความดีเพื่อให้ถูกใจเรา แต่จิตของเรากลับปล่อยให้ขุ่นมัว เศร้าหมอง เครียด ฟุ้งซ่าน "โทษคนอื่นเห็นเป็นภูเขา โทษของเรา แลไม่เห็นเท่าเส้นผม"
สนใจดูตนเองให้มากขึ้น ดูคนอื่นเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง เห็นตนเองในคนอื่นและเห็นคนอื่นในตนเอง เพราะไม่มาก ก็น้อย เราก็เหมือนๆกับคนอื่นเป็นการเจริญสติสัมปชัญญะ ทำให้มีเมตตา กรุณา ติเตียน ดูถูกคนอื่นน้อยลง ตำหนิติเตียนตน ด้วยสติปัญญา แก้ไขพัฒนาตนมากขึ้น เมื่อพบว่ามีข้อที่คิดว่าน่าแก้ไขให้ตั้งใจทุกวัน พยายามแก้ไขอยู่อย่างนั้น


4. การจ่ายซะกาต

การจ่ายซะกาต คือ การจ่ายทรัพย์สินในอัตราที่ศาสนากำหนดไว้จำนวนหนึ่งจากทรัพย์สินที่สะสมไว้เมื่อครบกำหนดเวลา โดยจะต้องจ่ายทรัพย์สินนี้ให้แก่คนที่มีสิทธิ์ได้รับ 8 จำพวกตามที่คัมภีร์กุรอานได้กำหนดไว้อันได้แก่ 1) คนยากจน 2) คนที่อัตคัดขัดสน 3) คนที่มีหัวใจโน้มมาสู่อิสลาม 4) ผู้บริหารการจัดเก็บและจ่ายซะกาต 5) ไถ่ทาส 6) ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว 7) คนพลัดถิ่นหลงทาง 8) ใช้ในหนทางของอัลลอฮ.

ความจริงแล้วคำว่า ”ซะกาต” โดยทางภาษาแปลว่า “การซักฟอกการทำให้สะอาดบริสุทธิ์ และการเจริญเติบโต” และคำว่า “ซะกาต” นี้ได้ถูกกล่าวควบคู่กับการนมาซในคัมภีร์กุลอานไม่ต่ำกว่า 20 ครั้งด้วยเหตุนี้ มุสลิมที่ปฏิบัตินมาซแต่ไม่ยอมจ่ายซะกาตนั้น ความเป็นมุสลิมของเขาจึงยังไม่สมบูรณ์

วัตถุ ประสงค์ที่อิสลามกำหนดให้มุสลิมจ่ายซะกาตก็คือเพื่อเป็นการยืนยันถึงความ ศรัทธา นอกจากนั้นแล้วการจ่ายซะกาตก็ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อซักฟอกทรัพย์สินและจิต ใจของผู้จ่ายให้มีความสะอาดบริสุทธิ์ ขณะเดียวกันก็เพื่อเป็นการสร้างความเจริญให้แก่สังคมอีกด้วย

ที่ กล่าวว่าซะกาตมีวัตถุประสงค์เพื่อซักฟอกทรัพย์สินและจิตใจของผู้จ่ายซะกาต ก็เพราะอิสลามถือว่าทรัพย์สินที่มุสลิมหามาได้นั้นถึงแม้ว่าจะหามาด้วยความ สุจริตก็ตาม ถ้าหากทรัพย์สินที่สะสมไว้นั้นยังไม่ได้นำมาจ่ายซะกาต ทรัพย์สินนั้นก็ยังไม่บริสุทธิ์ เพราะซะกาตเป็นสิทธิ์ของคน 8 ประเภทดังกล่าว การไม่จ่ายซะกาตก็คือการยักยอกทรัพย์สินของคนเหล่านั้น ขณะเดียวกัน การจ่ายซะกาตก็จะช่วยชำระจิตใจของผู้จ่ายให้หมดจดจากความตระหนี่ถี่เหนียว และความโลภซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสกปรกทางใจอย่าง หนึ่ง

หาก เรามองหลักการจ่ายซะกาตจากแง่สังคม เราจะเห็นว่าบรรดาผู้มีสิทธิได้รับซะกาตนั้นมักจะเป็นผู้ที่เป็นปัญหาใน สังคม ดังนั้นการนำซะกาตไปให้แก่คนเหล่านี้จึงเป็นการแก้ปัญหาสังคมที่ถูกจุด ขณะเดียวกัน ถ้าเรามองจากทางด้านเศรษฐกิจ เราจะเห็นว่าซะกาตจะทำให้คนยากจนคนอานาถาในสังคมมีอำนาจซึ้อเพิ่มขึ้น เพราะมีการถ่ายเททรัพย์สินจากคนรวยไปสู่คนจน และเมื่อคนเหล่านี้มีอำนาจซื้อก็จะส่งผลให้มีการผลิตสนองตอบความต้องการ ทำให้มีการจ้างงานและมีการกระจายรายได้ทางเศรษฐกิจติดตามมา

ดังนั้น จึงอาจพูดได้ว่าการจ่ายซะกาตนอกจากจะเป็นการแสดงออกถึงความศรัทธาแล้ว ยังเป็นการแสดงความเคารพภักดีต่ออัลลอฮ. โดยผ่านทางการช่วยเหลือสังคมด้วย

ซะกาตมี 2 ประเภท คือ

ซะกาตฟิตเราะฮ. คือ ซะกาตที่มุสลิมที่สามารถจะเลี้ยงตัวได้ต้องจ่ายให้แก่คนยากจนหรือคนอนาถาในเดือนรอมฎอนอันเป็นเดือนถือศีลอด โดยจ่ายเป็นอาหารหลักที่คนในท้องถิ่นกินกันเป็นประจำซึ่งได้แก่ข้าวสารประมาณ 3 ลิตร (หรืออาจให้เป็นเงินที่มีมูลค่าเท่ากับข้าวสารจำนวนดังกล่าว) สำหรับผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครัวนั้นจะต้องรับผิดชอบการจ่ายซะกาตฟิตเราะฮ.นี้ แทนสมาชิกในครอบครัวด้วย หากยังไม่ได้จ่ายซะกาตฟิตเราะฮ. อัลลอฮ.ก็จะยังไม่รับการถือศีลอดของเขา
ซะกาตมาล หรือ ซะกาตทรัพย์สิน เป็นซะกาตที่จ่ายจากทรัพย์สินที่สะสมไว้หลังจากการใช้จ่ายครบรอบปีแล้ว ในอัตราที่ต่างกันตามประเภทของทรัพย์สินตั้งแต่ร้อยละ 2.5 ไปจนถึง 20

5. การทำฮัจญ์

การทำ ฮัจญ์ คือ การเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจที่นครมักกะฮ.ในเดือนซุลฮิจญะฮ.ตามวันเวลาและ สถานที่ที่ถูกกำหนดไว้ หลักการข้อนี้ถือเป็นหน้าที่สำหรับมุสลิมทั้งชายหญิงทุกคนที่มีความสามารถใน ด้านร่างกาย ทรัพย์สิน และเส้นทางการเดินทางมีความปลอดภัยหากใครได้ศึกษาถึงประวัติศาสตร์อิสลาม แล้ว จะพบว่าการทำฮัจญ์เป็นพิธีกรรมทางศาสนาเก่าแก่ที่มีมาก่อนสมัยของศาสดามุฮัม มัด จากหลักฐานในคัมภีร์กุรอาน การทำฮัจญ์เริ่มต้นขึ้นเมื่อตอนที่อัลลอฮ.ได้บัญชาให้ศาสดาอิบรอฮีมและอิสมา อิลผู้เป็นลูกชายร่วมกันสร้าง “บัยตุลลอฮ.” (บ้านของอัลลอฮ. ) ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับการเคารพภักดีต่อพระองค์ เมื่อสร้างเสร็จแล้ว พระองค์ก็ทรงบัญชาให้ศาสดาอิบรอฮีมเรียกร้องเชิญชวนมนุษยชาติให้มาร่วมกัน แสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์ที่บ้านดังกล่าว

ดัง นั้น ในเดือนซุลฮิจญะฮ. ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของปฏิทินอิสลาม มุสลิมทุกชาติทุกเผ่าพันธุ์จากทั่วโลกนับล้านคนจะเดินทางไปร่วมกันแสดงความ เคารพภักดีต่ออัลลอฮ.ที่บ้านของพระองค์

หลัง จากสมัยของท่านศาสดาอิบรอฮีมแล้ว ด้วยความโง่เขลาและความหลงผิดของผู้คน รูปแบบของการทำฮัจญ์ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เช่น แทนที่ผู้คนจะเคารพบูชาอัลลอฮ.แต่เพียงพระองค์เดียว พวกเขากลับเอารูปปั้นเทวรูปต่าง ๆ ที่พวกเขาบูชามาตั้งไว้รอบ ๆ ก๊ะอ.บ๊ะฮ. เพื่อสักการะบูชาในระหว่างการทำฮัจญ์ และในพิธีการเดินรอบก๊ะอ.บ๊ะฮ.นั้น พวกเขาหลายคนได้เปลือยกายเดินรอบก๊ะอ.บ๊ะฮ.และอื่น ๆ อีกมากมายที่ท่านศาสดาอิบรอฮีมไม่ได้ทำแบบอย่างไว้ จนกระทั่งมาถึงสมัยของท่านศาสดามุฮัมมัด หลังจากที่ท่านเข้ายึดมักก๊ะฮ.ได้แล้ว ท่านได้สั่งให้ทำลายรูปปั้นบูชาต่าง ๆ รอบก๊ะอ.บ๊ะฮ.ลงจนหมดสิ้น และท่านได้แสดงแบบอย่างการทำฮัจญ์ที่ถูกต้องให้บรรดาผู้ที่ศรัทธาในอัลลอฮ. ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น การทำฮัจญ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันจึงเป็นฮัจญ์ที่มีแบบอย่างมาจากท่านศาสดามุ ฮัมมัด

หาก ใครได้ศึกษาถึงรายละเอียดของหลักการและการปฏิบัติฮัจญ์ เขาจะทราบได้ทันทีว่าฮัจญ์เป็นบทบัญญัติทางศาสนาที่ถูกกำหนดให้มุสลิมถือ ปฏิบัติเพื่อยืนยันถึงความศรัทธาในอัลลอฮ. ที่ต้องอาศัยความเสียสละทั้งทรัพย์สินและเวลา ความอดทนทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ การให้อภัยและความสำนึกทางประวัติศาสตร์ตลอดจนความศรัทธามั่นต่อพระผู้เป็น เจ้าไปพร้อม ๆ กัน

การทำ ฮัจญ์ นอกจากจะเป็นการแสดงความเคารพภักดีและยืนยันในความศรัทธาต่ออัลลอฮ. แล้ว ยังสอนมนุษย์ทุกคนให้รู้สำนึกว่าในสายตาของอัลลอฮ. แล้ว มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกัน เพราะในการทำฮัจญ์ ผู้ทำฮัจญ์ทุกคนไม่ว่าจะมาจากชนชั้น เผ่าพันธุ์ ภาษา หรือจะมีฐานะอย่างไรก็ตาม ทุกคนจะต้องห่อหุ้มร่างกายด้วยผ้าสีขาวเพียงสองชิ้นเหมือนกันหมดทุกคน จะต้องปฏิบัติพิธีการต่าง ๆ เหมือนกันหมดและทุกคนต่างก็ประกาศความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮ.เหมือนกันหมด

สิ่ง ที่กล่าวมาทั้งหมดตั้งแต่ต้น อาจกล่าวสรุปได้ว่าหลักศรัทธา 6 ประการนั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคน ส่วนหลักปฏิบัติ 5 ประการที่อิสลามกำหนดไว้ให้มุสลิมปฏิบัตินั้นมิใช่เป็นหลักปฏิบัติทั้งหมดใน อิสลาม หากแต่มันเป็นเพียงวินัยบัญญัติอย่างน้อยที่สุดที่อิสลามกำหนดไว้ให้มุสลิม ปฏิบัติเพื่อยืนยันถึงความศรัทธาของเขาเท่านั้น อันที่จริงแล้วอิสลามยังมีบทบัญญัติอื่น ๆ ที่กำหนดให้มุสลิมปฏิบัติอีกมากมายที่จะเป็นการแสดงออกถึงความศรัทธาในทุก ย่างก้าวของชีวิต



ที่มา www.la-bicycle.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น